จากที่บล็อกก่อนนี้ผมได้พูดสรุปภาพคร่าวๆ แล้วว่าโซลูชั่นที่ LINE มีให้นักการตลาดนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าการมีเครื่องมือต่างๆ นั้นก็ต้องประกบกับการใช้กลยุทธ์และวิธีคิดที่ใช่ด้วยเพื่อให้การทำการตลาดนั้นมีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น ฉะนั้นบล็อกนี้ก็จะขอนำบางส่วนที่คุยกับคุณ นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร – Commercial Director มาสรุปเพิ่มต่อถึงเรื่องน่ารู้สำหรับการทำการตลาดกับ LINE แล้วกันนะครับ

หมายเหตุ: การสัมภาษณ์นี้ได้รับการอำนวยความสะดวกจากทาง LINE แต่ไม่ใช่การว่าจ้างหรือมีผลประโยชน์ตอบแทนในการทำบทความนี้แต่อย่างใดประเด็นสัมภาษณ์ต่างๆเป็นการเตรียมจากผู้เขียนเองโดยทางประชาสัมพันธ์ของ LINE ได้ช่วยเหลือในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นโดยไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลในการเขียนบทความนี้แต่อย่างใด

เครื่องมือสำหรับการ Empower แต่ละ Funnel

ถ้าจะมองจุดแข็งของ LINE นั้น จะเห็นว่าแต่ละผลิตภัณฑ์ของ LINE จะมีจุดแข็งที่แตกต่างกันซึ่งเหมาะกับการใช้ในแต่ละ Funnel ของ Customer Journey เช่น

  • Official Account – เหมาะกับการสร้าง Mass Awareness ซึ่งปัจจุบันหากคำนวน Cost Per Reach จากการใช้ Official Account นั้นก็ถือว่าถูกมากทีเดียว และในขณะเดียวกัน หากนำไปใช้ในช่วง Conversion นั้นก็พบว่าตัว OA ก็มีตัว Coversion Rate ที่สูงมากๆ ด้วยเช่นกัน
  • LINE TV & LINE Today – เหมาะกับการสร้าง Mass Awareness เช่นเดียวกับตัว Official Account โดยเน้นไปในส่วนของ Display Ads
  • Sponsored Sticker – เป็นเครื่องมือที่ดีมากในการสร้าง Brand Engagement ผ่าน Conversation ของคนใช้งาน LINE ซึ่งนอกจากจะได้ Visiblity แล้วก็สามารถเพิ่มตัว Brand Familiairity ได้อีกด้วย 
  • LINE Business Connect สามารถทำให้ตัว LINE กลายเป็นแพลตฟอร์มเพื่อสร้างบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้าได้ ซึ่งจะสามารถใช้ช่องทาง OA ให้กลายเป็น Customer Service เพื่อช่วยเหลือลูกค้า หรือทำระบบ CRM ก็ได้ด้วยเช่นกัน

หากมองเช่นนี้แล้ว สิ่งที่น่า LINE น่าจะตอบโจทย์ได้ดีคือการที่นักการตลาดจะดูว่าตัวเองต้องการโฟกัสที่จุดไหนของ Customer Journey / Marketing Funnel แล้วใช้ผลิตภัณฑ์ของ LINE ในการไปย้ำที่จุดนั้นๆ ซึ่งตัว LINE เองก็จะได้เปรียบในเรื่องการเป็นแพลตฟอร์มที่ High Engagement อย่างที่ได้อธิบายไว้ในบทความที่แล้ว

การเชื่อมต่อข้อมูลในอนาคต

แน่นอนว่าสิ่งที่หลายคนอาจจะอยากได้มากขึ้นสำหรับ LINE คือการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างผลิตภัณฑ์หรือสามารถนำไปใช้งานแบบ End-to-End Optimization ได้ ซึ่งตรงนี้ทาง LINE เองก็ทราบความต้องการของนักการตลาดและกำลังเร่งพัฒนาเครื่องมือเหล่านี้ให้เชื่อมโยงกันมากขึ้นในอนาคต

Global Platform แต่ Local Insight (และ Adaptation)

สิ่งหนึ่งที่ LINE จะเหมาะกับนักการตลาดไทยเพราะหลายๆ ผลิตภัณฑ์ของ LINE นั้นมีทีมพัฒนาและดูแลอยู่ที่ไทยโดยตรง ซึ่งสามารถประยุกต์หรือปรับให้ตามความต้องการของนักการตลาดชาวไทยได้ ตัวอย่างเช่น LINE TV ที่ปัจจุบันก็จะมีแพคเกจทั้งการทำ Pre-Roll Ad ที่เป็นโฆษณาออนไลน์มาตรฐาน แต่ด้วยการที่ตัวเองเป็นผู้ร่วมผลิตคอนเทนต์และเจ้าของแพลตฟอร์ม นั่นก็ทำให้ลูกค้าของ LINE TV สามารถเลือกแพคเกจการโฆษณาในรูปแบบ VTR หรือการ Tie-In สินค้าได้เช่นกัน ซึ่งตรงนี้ก็น่าจะเรียกว่าตรงกับ Insight และวิถีการตลาดแบบไทยๆ อย่างมาก 

นอกจากนี้แล้ว ทาง LINE เองก็ยังสามารถพลิกแพลงหรือปรับให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโซลูชั่นสำหรับองค์กรนั้นๆ เลย (อย่างเช่นการทำ SCB Connect) หรือบางองค์กรก็เอา OA ไปพัฒนาต่อให้กลายเป็น Internal Marketing Tools ได้ด้วยเช่นกัน

การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

สิ่งหนึ่งที่คุณนรสิทธิ์พูดถึงบ่อยๆ คืออยากให้นักการตลาดติดตามความเคลื่อนไหวของ LINE เนื่องจากมีการพัฒนาและแก้ไขแพลตฟอร์มอยู่เสมอ ซึ่งแน่นอนว่า LINE ก็ยังมีหลายๆ อย่างที่เคยมีปัญหาและทำให้นักการตลาดในบางธุรกิจอาจจะสงสัยในประสิทธิภาพของ LINE แต่ทุกวันนี้ LINE มีการพัฒนาและอัพเดทคุณสมบัติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเพิ่มโซลูชั่นใหม่ๆ เข้ามาดังที่เราเห็นการเปิดตัวใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ ซึ่งนั่นทำให้ LINE ในวันนี้จะต่างไปจาก LINE เมื่อหลายปีก่อน มีศักยภาพและความสามารถใหม่ๆ เข้ามาเป็นตัวเลือกในการตลาดมากขึ้น ซึ่งหากแบรนด์ไหนสนใจก็สามารถติดต่อมาที่ LINE ประเทศไทยเพื่อรับทราบข้อมูลหรือจะติดต่อผ่านเอเยนซี่ก็ได้เช่นกัน

และนี่คือสรุปเรื่องน่ารู้สำหรับแพลตฟอร์ม LINE ที่นักการตลาดเองก็ควรจะรู้และเวิร์คดูว่าจะใช้ LINE เพื่ออะไรกับแผนการตลาดเราได้บ้าง เพราะเราก็คงไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่า LINE นั้นเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เราใช้เยอะอันดับต้นๆ บนโลกออนไลน์เลยทีเดียวเชียวล่ะฮะ