top of page

การทำ Digital Priotization เป็นเรื่องสำคัญใน Digital Transformation

ปัญหาหนึ่งที่ผมมักแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารองค์กรในเรื่องการทำ Digital Transformation นั้นก็คือการเรียงลำดับว่าจะทำดิจิทัลกับอะไรก่อนดี เพราะถ้าเรียงลำดับไม่ดีก็อาจจะทำให้เกิดความวุ่นวายเป็นอย่างมากเอาได้

ที่ต้องอธิบายแบบนี้เพราะการทำ Transformation นั้นไม่ใช่เรื่องที่ประเภทดีดนิ้วปุ๊ปจะได้เลยเหมือนการเล่นเกม แถมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางความรู้สึกเพราะคนทำงานบางแห่งก็เปราะบางแบบไม่อยากจะเปลี่ยน อึดอัด บ้างก็ไม่แน่ใจว่าจะหัวจะก้อยยังไง ฉะนั้นการประคับประครองให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปได้จึงไม่ใช่การลงแค่เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูการเปลี่ยนผ่านของคนด้วยเป็นสำคัญ

แล้วปัญหามันก็มักจะเกิดเมื่อองค์กรทำการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีหรือปรับองค์กรนี้แบบใช้ยาแรงอัดเข้าไป ไม่ก็เล่นใหญ่ประเภททำหลายอย่างพร้อมกันซึ่งมีความเสี่ยงหลายอย่าง ตั้งแต่เปลี่ยนระบบใหม่นั้นต้องมีอะไรรองรับกันไม่อย่างนั้นก็จะทำมาเก้อหรือใช้งานไม่ได้แล้วกลายเป็นว่าที่ทำไปนั้นเสร็จไม่พร้อมกัน บางอย่างเสร็จแล้วมานั่งรออีกอัน บ้างก็ติด ๆ ขัด ๆ เพราะคนเองก็ไม่พอจะทำทุกอย่าง พอไป ๆ มา ๆ แบบนี้ก็เลยเกิดปัญหาประเภททำเครื่องบินเสร็จและรันเวย์ไม่เสร็จ ก็บินไม่ได้ต้องทิ้งค้างไว้ในโรงจอด เสียเวลา เสียงบประมาณอีก แถมคนทำงานก็จะหน่ายเพราะงานที่ทำก็ไม่ได้ขึ้น

ด้วยเหตุนี้การทำ Transformation จึงจำเป็นที่ผู้นำจะต้องรู้ว่าควรจะปรับอะไรก่อน การพยายามแบ่งเป็น Milestones / Small Win จึงเป็นทักษะสำคัญในการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ที่ผู้นำต้องคิดกันให้ดีว่าจะเริ่มกันอย่างไร จะให้เวลาเท่าไร จากนั้นจะเริ่มทำอะไร เพราะเราต้องเข้าใจว่านอกจากเรื่องเทคโนโลยีแล้วก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่ชื่อว่าคนซึ่งถ้าคนนี้เองที่รับไม่ได้ก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่เอามาก ๆ เลยทีเดียว

ตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนผ่านของแผนการตลาดให้ทำงานดิจิทัลมากขึ้นนั้น อาจะจต้องดูว่าจะเริ่มจากส่วนไหนก่อน แบ่งเป็น Stage สำคัญ ๆ อย่างเช่นเรื่มด้วยการทำโฆษณาพื้นฐานในออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ มีการทำคอนเทนต์เชิงกลยุทธ์ ซึ่งก็จะต้องทยอยทำการปรับการซื้อสื่อ การติดตั้งเครื่องมือเพื่อช่วยทำการบริหารงานโฆษณา การพัฒนาคนให้เข้า Digital Marketing และการเพิ่มศักยภาพทีมงานคอนเทนต์ ซึ่งพอทุกอย่างเริ่มเข้าที่แล้วก็ค่อยขยับไปลำดับต่อไปอย่างการทำ Personalization การทำ Performance Marketing ที่มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ผมมักแนะนำให้แต่ละองค์กรลองค่อย ๆ วางลำดับการเปลี่ยนผ่านนี้ให้ดี และที่สำคัญคือต้องให้เวลากับมัน ไม่ใช่จะเร่งรีบเอาแต่ทันที ไม่อย่างนั้นก็อาจจะพังคลืนเอาได้ง่าย ๆ นั่นเอง

Comments


Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page