top of page

"เล่าให้เป็นเรื่อง" ไม่เหมือนกับ "เล่าให้รู้เรื่อง"

  • รูปภาพนักเขียน: Nuttaputch Wongreanthong
    Nuttaputch Wongreanthong
  • 22 ชั่วโมงที่ผ่านมา
  • ยาว 1 นาที


เมื่อพูดถึงการพัฒนาทักษะการนำเสนอ (Presentation) นั้น ก็จะมีการพูดถึงทักษะการเล่าเรื่อง (Storytelling) เข้ามาเป็นชุดทักษะที่อยากฝึกฝน และนั่นก็ทำให้หลายคนไปเรียนรู้วิธีการทำให้เนื้อหากลายเป็นเรื่องราว สามารถเล่าออกมาแล้วเป็นเรื่องที่น่าติดตาม


อย่างไรก็ตาม มันก็มีมุมอื่นที่เราควรรู้ด้วยว่าการนำเสนอที่ดีกับการเล่าเรื่องที่ดีอาจจะไม่ใช่เรื่องเดียวกัน 100% แต่อย่างใด


แน่นอนว่าการมี "เรื่อง" (Story) จะช่วยทำให้คนฟังสามารถติดตามการนำเสนอได้มากขึ้น เพิ่มความน่าสนใจเพราะจะไม่ดู "แห้ง" เกินไป เช่นการหาเรื่องราวที่เป็นกรณีศึกษา เหตุการณ์สำคัญที่มีความดราม่า เข้ามาเป็นตัวประกอบการเล่าเรื่อง


แต่เราก็ต้องแยกกันก่อนว่าการเล่าให้ "รู้เรื่อง" กับเล่า "เป็นเรื่อง" นั้นไม่ใช่อย่างเดียวกัน เพราะเราอาจจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้ทำให้คนฟัง "รู้เรื่อง" ในประเด็นที่กำลังจะสื่อสาร หรือแก่นความคิดสำคัญที่ต้องการนำเสนอก็ได้


ตัวอย่างเช่นถ้าคนนำเสนอมาพร้อมกับเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น ชวนให้คนฟังติดตามได้ตลอดการบรรยายแต่สุดท้ายคนฟังอาจจะสับสนว่า "แล้วต้องการอะไรจากเรื่องนี้" นั่นก็คือช่องว่างที่เกิดขึ้นว่าแม้จะมีเรื่องราวก็จริง แต่หัวใจสำคัญของการสื่อสารนั้นไม่ได้เกิดขึ้น


ในการฝึกฝนการนำเสนอจึงต้องมีการทักถามกันอยู่บ่อย ๆ ว่า "เรื่องนี้เล่าไปทำไม?" เพราะถ้าหาเรื่องดังกล่าวไม่ได้นำไปสู่การขมวดความคิด หรือทำให้แก่นความคิดชัดเจนมากขึ้นแล้ว มันก็ไม่จำเป็นต้องเล่า


ไม่อย่างนั้น เราจะเห็นการนำเสนอที่มีเรื่องเล่าเต็มไปหมด แต่สุดท้ายไม่ได้นำไปสู่อะไร แถมชวนให้เรางงกว่าเดิมนั่นเองล่ะครับW

Comments


Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

©2035 by Jeff Sherman. Powered and secured by Wix

bottom of page