top of page

การรักษาระดับความจริงจังใน Content สำหรับตัวแทนสินค้า

ในการสอนเรื่องการทำคอนเทนต์กับบรรดาตัวแทนขายสินค้านั้น ก็มีการถามมาว่าการเขียนคอนเทนต์ควรจะเขียนอย่างไรดี กลัวว่าเขียนออกมาแล้วจะดูขึงขัง เป็นโฆษณาสินค้ามากเกินไปแล้วคนจะเบื่อเอา

เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผมหยิบมาคุยต่อทันทีเพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่เหล่าบรรดาตัวแทนของสินค้าต่าง ๆ นั้นมักจะต้องเจออยู่บ่อย ๆ ว่าควรจะใช้แนวทางการทำคอนเทนต์อย่างไรกัน ซึ่งถ้าเรามองกันด้วยบริบทแล้วนั้น ก็จะเห็นการพูดจากตัวแบรนด์เองอย่าง Facebook Page ของบริษัทหรือ Website ของสินค้าก็คงจะมีการใช้คำบรรยาย การเขียนที่ดูจริงจัง ทางการเป็นสำคัญ

แต่การทำแบบเดียวกันผ่าน Facebook ของเหล่าบรรดาตัวแทนก็คงจะไม่เข้าทีเท่าไรนัก เพราะมันก็อาจจะถูกมองว่า “ไม่ใช่คน” เกินไป ซึ่งนั่นนำมาสู่คำแนะนำที่ผมมักจะใช้บอกกับคนทำงานตำแหน่งนี้บ่อย ๆ ว่า

“ให้คิดเสียว่าคุณกำลังนั่งเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนฟัง”

ฉะนั้นต้องคิดว่าไม่ใช่การพรีเซ้นท์หรือนำเสนอสินค้าหน้ากล้องแต่อย่างใด

แต่ในขณะเดียวกันเอง เราก็ต้องระวังด้วยว่าการพยายามทำให้ “เป็นคน” นั้นอาจจะมีการตีความไปในลักษณะที่กันเอง ทีเล่นทีจริง จนกลายเป็นดูไม่น่าเชื่อถือได้เหมือนกัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่คนขายของก็ต้องรักษาสมดุลให้อยู่ โดยเราก็อาจจะใช้หลักการคิดแบบตั้งขอบเขตเอาไว้เตือนใจตัวเองได้เช่น

“ดูสนุกแต่ไม่หยาบคาย” “เพลิน ๆ แต่ไม่เหลวไหล” “น่าเชื่อถือแต่ไม่ขึงขัง”

ตรงนี้เองที่ผมก็คงไม่สามารถระบุออกมาให้ชัดว่าควรจะพูดแบบไหน อย่างไร ด้วยคำอะไร เพราะเอาเข้าจริงแล้วก็จะอยู่ที่กลุ่มเป้าหมายหรือเครือข่ายของแต่ละตัวแทนด้วยว่าเป็นสไตล์อย่างไร ระดับของความจริงจังอยู่สูงขนาดไหน ซึ่งนั่นก็เลยจำเป็นที่จะต้องศึกษากลุ่มลูกค้าของตัวเองให้ดีนั่นเองล่ะครับ

Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page