top of page

เริ่มทำ Data Driven Content Marketing

เมื่อเข้าสู่ยุคที่อะไร ๆ ก็ดูจะต้องทำ Data-Driven กันหมดนั้น คำถามกับวงการคอนเทนต์คือแล้วเราจะต้องใช้ Data กันไหม? และถ้าใช้แล้วจะใช้อย่างไร?

อันที่จริงคำถามนี้อาจจะตอบกันได้ว่าการทำคอนทเนต์นั้นใช้ Data มาแต่ไหนแต่ไหรตั้งแต่เราเริ่มทำคอนเทนต์กันแต่โบราณแล้ว แต่ Data ที่ว่าคือข้อมูลที่ผู้สื่อสารรู้และเข้าใจว่าผุ้รับสารเป็นอย่างไร สื่อเป็นอย่างไร บริบทของการสื่อสารเป็นอย่างไร และนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลว่าจะสื่อสารออกมาอย่างไรให้มีประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง

ก็เหมือนกับการบอกว่าถ้าผู้สื่อสารเข้าใจผู้รับสารและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้นั้น ก็จะนำไปสู่การออกแบบคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้

ทีนี้ถ้าเราเข้าใจแก่นนี้แล้ว เราก็จะสามารถนำมาปรับกับการใช้ Data ในยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นซึ่งเราก็อาจจะแบ่งเป้าหมายของการใช้ Data เพื่อทำคอนเทนต์ได้ดังนี้

1. Data for Identification: เป็นการใช้ข้อมูลเพื่อระบุกลุ่มเป้าหมายหรือคนที่จะเห็นคอนเทนต์ ซึ่งนั่นทำให้ผู้ทำคอนเทนต์สามารถเข้าได้ได้ว่าผู้ที่กำลังสื่อสารด้วยคือใคร หรือเราเลือกที่จะไปสื่อสารกับใคร ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์ในการออกแบบคอนเทนต์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

2. Data for Clarification: เป็นการใช้ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่ต่าง ๆ ที่อยู่ล้อมรอบการสื่อสาร เช่นการเข้าใจ Insight ของกลุ่มเป้าหมายโดยที่รู้ว่าคน ๆ นี้คิดอะไร มีพฤติกรรมแบบนี้ ชอบอะไรไม่ชอบอะไร การเข้าใจกระแสต่าง ๆ ที่มีผลกับการสื่อสาร และยังรวมไปถึงการเข้าใจผลที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารว่าคอนเทนต์นั้นได้ผลหรือไม่อย่างไร เพื่อจะได้พิจารณาต่อได้ว่าคอนเทนต์ต่อไปจะเป็นอะไร

3. Data for Creation: การรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสร้างคอนเทนต์ซึ่งอาจจะหมายถึงข้อมูลที่ 1+2 พ่วงด้วยข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยงข้องเช่นกำหนดเวลา ข้อมูลวิจัยต่าง ๆ เพื่อบอกว่าแนวโน้มของสารแบบไหนที่ได้ผล และนั่นทำให้เกิดการชั่งน้ำหนักและตัดสินใจว่าการออกแบบคอนเทนต์จะเป็นอย่างไร

4. Data for Evaluation: การใช้ข้อมูลเพื่อประเมินว่าคอนเทนต์นั้นมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ มีอะไรที่ต้องรู้เพื่อทำให้เข้าใจได้ว่าคอนเทนต์นั้นอยู่ในเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามต้องการไว้อย่างไร

นี่เป็นหลักการง่าย ๆ ซึ่งหากจะว่ากันจริง ๆ แล้วก็จะพบว่าคนทำคอนเทนต์ทุกวันนี้ก็มีการใช้ข้อมูล 4 ข้อนี้อยู่ก่อนแล้ว แต่อาจจะเป็นการเก็บข้อมูลที่ไม่ได้มีรูปแบบชุดข้อมูลที่เป็นตัวเลขและเอกสาร หากจะเป็นประสบการณ์หรือเซนส์บางอย่างของผู้ทำคอนเทนต์นั่นเอง ซึ่งการพัฒนาการเก็บข้อมูลก็จะมาช่วยเพิ่มมุมและมิติของการใช้ Data นี้ให้ดียิ่งขึ้น

Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page