top of page

Google เผยเทรนด์ Digital Economy ของไทย – E-Commerce & Online Mediaโตเร็วสุดๆ

วันนี้ทาง Google ได้มีการอัพเดทข้อมูลน่าสนใจจากการศึกษา e-Conomy SEA 2018 ซึ่งเป็นความร่วมมือของทาง Google และ Temasek โดยนาย Ben King – Country Manager ของ Google ประเทศไทยได้แชร์อัพเดทน่าสนใจหลายๆ อย่างของทิศทาง Digital Economy (เศรษฐกิจดิจิทัล) ของไทย ซึ่งมีสถิติหลายๆ อย่างน่าสนใจด้วยกัน

ข้อมูลเผย Digital Economy ไทยพุ่ง ปีทองของ E-Commerce ไทย

  1. จากการคาดการณ์ของงานวิจัยพบว่า Digital Economy ของไทยจะเติบโตขึ้นเป็น 4.3 หมื่นล้านเหรียญในปี 2018 ซึ่งจะโตเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนิเซีย (ซึ่งปรับตัวเลขจากการเติบโตเดิมที่ประมาณไว้ที่ 3.7 หมื่นล้านเหรียญ)

  2. อัตรการเติบโตของ Digital Economy ในไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 27%

  3. อย่างไรก็ตามนั้น Digital Economy ของไทยยังคิดเป็นเพียง 2.7% ของ GDP ซึ่งต่ำกว่าจีนและสหรัฐ (อยู่ที่ 6.5%) แต่ก็หมายความว่ายังมีโอกาสในพัฒนาและเติบโตอีกมาก

  4. ตลาดท่องเที่ยวของไทยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของภูมิภาค (SEA) และอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุด (18%)

  5. E-Commerce ของไทยมีการเติบโตที่เร็วที่สุด

  6. มูลค่าตลาดของสื่อออนไลน์ (โฆษณา เกม บริการเพลงและวีดีโอ) ของไทยอยู่ที่ 2.4 พันล้านเหรียญ และมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 44%

  7. การท่องเที่ยวออนไลน์ของไทยมีขนาดใหญ่มากโดยมีมูลค่าอยู่ที่ 6.1 พันล้านเหรียญ (รองจากอินโดนีเซียที่ 8.6 พันล้านเหรียญ)

  8. ปี 2561 กำลังจะเป็นปีแห่งการทำลายสถิติการระดมทุนใน Digital Economcy ของ SEA โดยธุรกิจด้าน Fintech เป็นภาคธุรกิจที่ระดมทุนได้มากที่สุดของครึ่งปีแรก

*สามารถดูข้อมูลอื่นๆ จากงานวิจัยนี้ได้ที่ Think With Google

Trend แง่คิดและบทวิเคราะห์น่าสนใจจากงานวิจัย

แน่นอนว่าสิ่งสำคัญของงานวิจัยนี้คือการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Digtial Economy และเทรนด์ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งถ้าจะพูดกันง่ายๆ แล้วคือประเทศไทยโตกว่าที่ประมาณการไว้ของตัวงานวิจัยนี้ซึ่งมีการทำอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ไม่ว่าจะเป็นในระดับภูมิภาคหรือในระดับประเทศ

การเปลี่ยนแปลงของ Digital Economy ที่ต่างไปจากปีก่อนหน้านี้

สิ่งที่เปลี่ยนแปลง Digital Economy ต่อจากนี้ คือทิศทางธุรกิจและกลยุทธ์ที่แตกต่างออกไป จากเดิมนั้นอาจจะเป็นเรื่องของการสร้างฐานผู้ใช้งาน (User Acquisitoin) ไปสู่การสร้างการใช้งานที่ยั่งยืนเพื่อให้เกิดมูลค่าที่มากขึ้น (Lifetime Vlue) การเปลี่ยนจากผู้เล่นระดับประเทศไปสู่ระดับภูมิภาค ปัญหาที่ขาดเงินสนับสนุนกลายเป็นว่าตอนนี้มีเงินลงทุนเข้ามาเยอะมาก ซึ่งนำไปสู่การที่ Ecosystem นั้นมีความมั่นคงขึ้นกว่าเดิม

จากข้อมูลเชิงลึกของประเทศไทยจะเห็นว่าสิ่งที่เป็นตัวเร่งการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดคือ Online Media และ E-Commerce ซึ่งโตกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้มาพอสมควร ซึ่งเกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัยเช่นการโตของตลาด Video on Demand จากที่มีผู้บริการใหม่ๆ มากขึ้น พฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เช่นเดียวกับการลงโฆษณาที่ย้ายมาดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ

E-Commerce

การเติบโตของตลาด E-Commerce ของไทยนั้นมีความน่าสนใจอยู่พอสมควรหลังจากที่เราผ่านช่วงการสร้างพฤติกรรมการใช้งาน การโปรโมทตัวแพลตฟอร์มใหม่ๆ ซึ่งนำไปสู่คาดการณ์ที่น่าสนใจเช่นการที่ผู้ให้บริการแต่ละคนจะเริ่มพยายามทำให้ตัวเองเป็นผู้นำในกลุ่มสินค้า หรือกลุ่มผู้ใช้งาน (Category / Segment Leadership) เช่นเดียวกับการพยายามจะเริ่มสร้างรายได้อย่างจริงจัง

Online Media

ต้องบอกว่าตัว Online Media เป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนตัว Digital Economy เทรนด์ต่อจากนี้จะเห็นว่าการใช้งบประมาณในการโฆษณาที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับพฤติกรรมการใช้งานทั้ง Video Streaming / Music Streaming ที่เพิ่มขึ้นมากด้วย

ความท้าทายในการเติบโตของ Digital Economy

ในงานวิจัยของปีปัจจุบันพบว่าปัจจัยต่างๆ ที่ถูกมองว่าเป็น Challenge ของการเติบโต Digital Economy นั้นพบว่ามีการเติบโตที่ดีมากเช่น

  1. มีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในตลาดมากขึ้น

  2. โครงสร้างพื้นฐานของอินเตอร์เนตนั้นแข็งแรง ซึ่งโจทย์ถัดไปคือการทำให้ประชาชนสามารถซื้อและใช้บริการได้มากขึ้น

  3. มีผู้ใช้งานบริการทางออนไลน์มากขึ้นซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคเชื่อใจบริการทางดิจิทัลมากขึ้น

  4. การเติบโตในการจ้างงานแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัล โดยปัจจุบันมีอยู่ราวๆ 100,000 คน และคาดการณ์ว่าจะโตขึ้น 10% ต่อปีและไปถึง 200,000 คนในปี 2025 ซึ่งแน่นอนว่าคนในกลุ่มนี้จะมีมูลค่าและรายได้ที่สูงกว่าแรงงานทั่วไปและทำให้มูลค่าของตลาดเพิ่มขึ้นไปอีก

  5. การใช้งาน Online Payment ที่สูงขึ้นแต่ยังถือว่าน้อยอยู่ ซึ่งเป็นจุดที่ต้องมีการพัฒนาและเร่งให้เกิดการใช้งานมากขึ้น เช่นการออกนโยบายจากภาครัฐ หรือการทำงานร่วมกันของผู้ให้บริการเพื่อทำให้ผู้ใช้งานไม่สับสนหรือเกิดความยุ่งยาก

Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page