top of page

คุณให้ Comment แบบ Subjective หรือ Objective ?

การให้ Comment งานเป็นหนึ่งในสิ่งที่เกิดขึ้นกันอยู่แทบทุกวันของการทำงาน และการให้ Comment นี่เองที่สร้างปัญหาบ่อยๆ คนให้ Comment ดีก็ได้งานที่ดีไป แต่ถ้า Comment ไม่ดีก็อาจจะทำให้คนที่มาทำงานต่อเสียเวลา หลงทาง และแก้งานไปในทางที่ผิดเอาได้ง่ายๆ เหมือนกัน

พอพูดถึงเรื่องการให้ Comment งานแล้วทำให้ผมนึกถึงหลังกการ “วิจารณ์” งานต่างๆ ว่าเราควรพิจารณาดูว่าที่เราวิจารณ์นั้นเป็นเรื่อง Subjective หรือ Objective

สองคำนนี้อาจจะเป็นคำที่หลายๆ คนได้ยินอยู่บ้างแต่ถ้าใครงงว่ามันแปลว่าอะไร (บางคนอาจจะคิดว่ามันคือประธานหรือกรรมตาม Grammar ภาษาอังกฤษหรือเปล่า) ผมเลยขอเขียนบล็อกนี้อธิบายแบบง่ายๆ สั้นๆ แล้วกันนะครับ

Subjective vs Objective

เวลาเราจะวิจารณ์หรือให้ความเห็นต่างๆ นั้น มันจะมีความเห็นอยู่ 2 ประเภทเป็นสำคัญคือ Subjective กับ Objective ซึ่งแบ่งกันแบบว่า “ความจริงของใคร”

ความเห็นแบบ Subjective คือการให้ความเห็นในมุมมองของตัวเองเป็นหลัก “ความจริง” ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความจริงแบบที่เจ้าตัวคนวิจารณ์ตีความ คิด หรือรู้สึก หรือพูดง่ายๆ คือเป็นความเห็นและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ความเห็นลักษณะนี้เช่น “เท่าที่ผมรู้สึกนั้น ผมว่า….” “ในมุมมองของผมนั้น ผมเห็นว่า…..”

สิ่งที่คนวิจารณ์ต้องพึงระลึกไว้คือความเห็นแบบ Subjective นั้นเป็นความเห็น “ส่วนตน” ไม่ใช่ความเห็นส่วนรวมประเภทที่ทุกคนจะคิดเหมือนกันแต่อย่างใด สิ่งที่เรารู้สึกว่า “ไม่ชอบ” ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะไม่ชอบเหมือนเรา สิ่งที่เรามองว่าไม่เท่ ไม่น่ารัก อาจจะเป็นความคิดและความรู้สึกของเราคนเดียว

ในทางกลับกัน ความเห็นแบบ Objecitve คือความเห็นที่อยู่บนข้อเท็จจริงที่ทุกคนเห็นเหมือนๆ กัน ซึ่งสิ่งนี้มักจะอยู่ในลักษณะข้อมูลที่จับต้องได้ วัดผลได้ อธิบายได้โดยที่คนอื่นๆ ก็จะได้รับข้อมูลแบบเดียวกัน แน่นอนว่าความเห็นแบบ Objecitve นั้นมักจะเป็นเรื่องของหลักการ ตรรกะ เหตุผล มากกว่าเรื่องของความรู้สึกซึ่งเป็นเรื่องของส่วนบุคคล

ข้อควรระวัง

สิ่งที่ต้องระวังในการทำงานจริง คือหลายๆ คนมักเหมาว่าความเห็นคนตนนั้นเป็น Objective คือใครๆ ก็คิดแบบนั้น บ้างก็แปรว่าความเห็นของตัวเองเป็น “ข้อเท็จจริง” ทั้งที่จริงๆ แล้วเป็นแค่ความเห็นแบบ Subjective เท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้มักจะทำให้การทำงานหลายๆ อย่างมีปัญหาเนื่องจากคนทำงานเอาตัวเองเป็นที่ตั้งแทนที่จะเอาข้อมูลกับข้อเท็จจริงเป็นที่ตั้งนั่นแหละ

นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นหลายๆ ครั้งคือคนทำงานทึกทักและปักใจเชื่อความเห็นแบบ Subjective ของตัวเองมากเกินไปจนลืมคิดว่าไปว่านั่นคือ “ความเห็นของตัวเอง” ไม่ใช่ของทุกคน

เราควรจะใช้ Subjective หรือ Objective?

พอเป็นแบบนี้ หลายๆ คนก็มองว่าเราควรจะใช้ Objective มากกว่า Subjectvie ใช่หรือไม่? ก็ต้องตอบว่าไม่จริงเสมอไป การประชุมงานหรือหารือในบางเรื่องก็จำเป็นต้องให้ Comment แบบ Objective เพื่อให้การประชุมดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบ เช่นการประชุมติดตามงาน การประชุมอัพเดทยอดขาย หรือประชุมแผนการต่างๆ ซึ่งการประชุมพวกนี้มักจะอิงอยู่บนหลักการและเหตุผลเป็นสำคัญ

แต่ถ้าเป็นการประชุมงานหรือให้คอมเมนต์งานในทางด้านศิลปะแล้ว การให้คอมเมนต์แบบ Subjective ก็จะถูกใช้มากขึ้นเพราะหลายๆ อย่างเป็นเรื่องของ “รสนิยม” ของแต่ละบุคคล แน่นอนว่าตรงนี้ก็มีความเสี่ยงอยู่ว่าถ้ารสนิยมของคนให้คอมเมนต์นั้น “ใช่” ก็ย่อมจะนำไปสู่การทำงานที่ถูกที่ควร แต่ถ้ารสนิยมแย่ก็ถึงคราวบรรลัยกันได้ง่ายๆ อยู่

อย่างไรก็ตาม ในชีวิตจริงนั้นไม่ได้จำเป็นว่าเราจะต้องใช้ Comment แบบ Subjective และ Objective แยกขาดออกจากกัน เราสามารถประยุกต์การให้ความเห็นแบบผสมผสานทั้ง Subjective และ Objective ควบคู่กันไปได้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือได้ เพราะเราต้องไม่ลืมว่าการให้ความเห็น Objective อย่างเดียวก็น่าเบื่ออยู่พอสมควร ขณะที่ถ้าพูดกันแบบ Subjective อย่างเดียวก็เถียงกันไม่จบเพราะต่างก็อิงความรู้สึกส่วนตัว คนที่ให้ Comment ที่เก่งจะรู้ว่าเรื่องนี้ควรพูดแบบ Subjective และควรมีด้าน Objective อะไรบ้างที่มาสนับสนุนความคิดดังกล่าว (เพื่อให้น่าเชื่อถือมากขึ้นนั่นแหละ)

บล็อกวันนี้ก็เอามาเล่าให้เข้าใจพอสังเขปแล้วกันนะครับ :)

Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page