top of page

Systems Thinking: การคิดเชิงระบบ

จากที่เราเคยพูดถึงทักษะการคิดในแบบต่างๆ นั้น อีกหนึ่งชุดความคิดที่ควรเข้าใจและพัฒนาให้เป็นทักษะอยู่เหมือนกัน ก็คือการทักษะของการคิดเป็นระบบ (Systems Thinking)

เมื่อโลกและปัญหาของเราเป็น “ระบบ”

การคิดเป็นระบบที่ว่านี้นั้น ไม่ใช่การคิดเป็นลำดับ เป็นระเบียบ 1-2-3 แต่อย่างใด หากแต่เป็นการเข้าใจปัญหา สถานการณ์ หรือบริบทต่างๆ โดยการมองเห็นเป็นเชิงระบบโครงสร้างที่เกี่ยวโยงต่อเนื่องกัน ซึ่งนั่นเป็นกระบวนการสำคัญในการเข้าใจที่มาที่ไป ปัจจัยต่างๆ เพื่อที่จะสามารถตัดสินใจหรือดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

ตัวอย่างที่พอจะหยิบยกมาใช้อธิบายได้ก็คือการมองเห็นว่าการจะลดน้ำหนักนั้นเกิดขึ้นจากอะไรบ้างที่โยงกันมาเป็นระบบ เช่นการทำงานออฟฟิศที่แต่ละแผนกก็จะส่งผลต่อไปยังอีกแผนกหนึ่ง ไม่ใช่แค่มีแต่ในแผนกตัวเองเท่านั้น การที่แผนกการตลาดวางแผนโดยใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากแผนกวิจัย นำไปสู่การพัฒนาสินค้าที่ไม่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย สร้างปัญหายอดขายให้กับทีมขาย และตัวสินค้าก็มีปัญหาและทำให้ยอดคนแจ้งปัญหาเพิ่มขึ้นกับทางทีมดูแลลูกค้า เป็นต้น และนั่นทำให้การแก้ไขปัญหายอดคนแจ้งปัญหา จึงไม่ใช่ไปแก้ที่แผนกดูแลลูกค้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ระบบดังกล่าวเกิดผลกระทบที่ดีทั้งระบบบนเงื่อนไขที่แต่ละแผนกเชื่อมโยงกัน

นอกจากนี้แล้ว การคิดเป็นระบบนี้ยังเป็นเครื่องมือชั้นดีในการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว หรือปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อจะได้เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการต่างๆ เพราะเมื่อเลือกทางใดทางหนึ่งแล้วก็จะส่งผลรวมกับระบบทั้งหมดในทางใดทางหนึ่ง และนั่นทำให้ผู้ตัดสินใจจะต้องประเมินว่าผลกระทบแบบใดที่เป็นประโยชน์มากที่สุด (หรือเสียหายน้อยที่สุด)

สิ่งที่ทำให้ Systems Thinking ถูกหยิบมาพูดถึงให้ฝึกฝนกันบ่อยๆ นั้น ก็เพราะว่าโลกปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และการตัดสินใจแต่ละอย่างไม่ได้เกิดผลกระทบทางตรงเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังส่งผลต่อส่วนอื่นๆ ของ “ระบบ” ด้วยเช่นกัน และคนที่ไม่ระวังก็มักจะไม่ได้เห็นถึงผลกระทบดังกล่าวจนนำไปสู่ความเสียหายหลายอย่างตามมา

สิ่งที่ควรฝึกฝนถ้าจะมี Systems Thinking

เมื่อพูดถึงการพัฒนาทักษะ Systems Thinking แล้วนั้น เราก็มักจะพบหลักสำคัญๆ ได้แก่

  1. การฝึกมองภาพกว้างของสถานการณ์ต่างๆ

  2. การฝึกมองให้เห็นความเชื่อมโยงขององค์ประกบอต่างๆ ในสถานการณ์

  3. การฝึกมองเจาะลงไปในแต่ละองค์ประกอบเพื่อเห็น “ระบบย่อย” ในองค์ประกอบนั้นๆ

  4. การฝึกออกแบบ / แก้ไขระบบต่างๆ

Me_Potrait.jpg

Nuttaputch Wongreanthong

An experienced marketer with a passion for understanding and exploring the latest trends

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

Subscribe

Thanks for submitting!

bottom of page